วิธีการปฏิบัติตัวของคนไข้อัมพาตและญาติเมื่อกลับมาอยู่ที่บ้าน

คนไข้ได้กลับบ้านกันแล้ว กำลังใจก็คงดีขึ้นใช่มั๊ยคะ 
แต่ว่าอย่าดีใจหรือเสียใจจนทำได้แต่นั่งๆ นอนๆ นะคะ 
คำๆ นี้ยังใช้ได้ดีเสมอ "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่นค่ะ"


สิ่งจำเป็นที่ต้องทำโดยเฉพาะในคนไข้ที่ยังฟื้นตัวไม่มาก  คือ การหายใจที่ถูกวิธีค่ะ
ผู้ป่วยควรฝึกการหายใจช้าๆ ลึกๆ สม่ำเสมอ เพื่อให้ปอดแข็งแรง เพราะว่าจากการที่ผู้ป่วย
นอนป่วยเป็นเวลานาน ปอดอาจเกิดการติดเชื้อได้ ให้หมั่นหายใจเข้าออกลึกๆ ทำบ่อยๆ นะคะ

กินยาแล้วหาย นวดแล้วหาย หมอเทวดารักษาหาย แล้วรักษาแบบไหนดีเนี่ย????

มากันอีกแล้ว เรื่องปวดหัวไม่เว้นแต่ละวัน หลังจากที่แฟนทานยากันชัก
ตอนนั้นผ่านไป 7 เดือนแล้วตั้งแต่เริ่มป่วยอัมพาต แฟนเดินได้ แต่ยังช้าอยู่มาก
พาข้ามถนนก็ต้องโบกมือขอให้รถจอดเลยทีเดียว เราก็เครีียด ทางบ้านเราก็เครียด
เพราะว่าัเรายังไม่ได้แต่งงานกันเลย


พ่อเราแนะนำว่าให้พามาัรักษากับคุณหมอ P (เป็นแพทย์จบด้านประสาทศัลยศาสตร์นะคะ
ไม่ใช่หมอตามคำบอกเล่า) เพราะเราเองก็รู้ว่าท่านเคยรักษายายที่ป่วยเป็นอัมพาต
ร่างกายสองด้านใช้การไม่ได้เลย เคลื่อนไหวได้แต่ส่วนศีรษะเนื่องจากเส้นเลือดตีบ
จนยายเราหายดี เดินได้เหมือนปกติทุกอย่าง ทุกวันนี้อายุ 77 แล้วยังเดินขึ้นลงบ้านเอง
ทำักับข้าวใส่บาตรเอง 

เมื่อสิ่งสำคัญในการรักษาอัมพาต คือ "สติ" เรารักษาแฟนโดยไม่ใช่อาหารเสริมเทวดาใดๆ ทั้งสิ้นค่ะ

หลายๆ บ้านคงเคยมีผู้ป่วยในบ้านใ่่ช่มั๊ยคะ ยิ่งเป็นโรคร้ายแรง
คุณจะได้พบเจอคนกลุ่มหนึ่งที่แสนดีกับเราและคนในครอบครัวเรามากมาย
คอยมาสอบถามปัญหา พร้อมกับเสนอ (ยัดเยียด) ผลิตภัณฑ์
ที่เค้ามีส่วนได้ส่วนเสียให้กับเราเสมอ

สำหรับเรากับแฟน เจอตั้งแต่บนห้องกายภาพบำบัดเลยค่ะ ตำแหน่งของเค้าคือ "แม่บ้าน"
ประจำวอร์ด ช่วงที่แฟนเราเริ่มเดินด้วยไม้เท้าแล้ว จนท.กายภาพเค้าจะให้พนักงานที่อยู่
ในวอร์ดคอยช่วยดูแลคนไข้เวลาเดินโดยมีญาติคอยดูแลด้วย 

เมื่อผู้ป่วยอัมพาตมีอาการชักจนตัวเขียว ญาติแบบเราเกือบช็อค!!!!!

ออกจากรพ.ต้นเดือน ม.ค. แฟนเริ่มเดินเตาะแตะอยู่บนห้อง ยังเดินไม่ค่อยคล่องเท่าไหร่
ค่อยเป็นค่อยไป ส่วนมือยังคงใช้การไม่ได้ สั่งกำได้ แต่แบไ่ม่ได้ การกำก็ใช้แรงเกร็งเอา


คุณหมอบอกว่าคนไข้อัมพาตครึ่งซีก ถ้าแรงขากลับคืนก่อน แรงที่แขนก็จะคืนช้ากว่า
ในทางกลับกัน คนไข้บางคนก็ขยับมือได้ก่อนที่จะเดินได้


เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มจะไปได้สวยแล้วใช่มั๊ยคะ
เปล่าเลย

พาผู้ป่วยอัมพาตออกสู่โลกภายนอก (บ้าน) ครั้งแรกกันค่ะ

หลังจากที่อยู่กันแต่บนห้องเป็นระยะเวลากว่า 2 อาทิตย์
ก็ถึงฤกษ์งามยามดี น้องสาวกับเพื่อนมาหาที่กรุงเทพ 
ก็คุยกันไว้ว่าจะพาแฟนออกไปเดินเล่นที่ห้างด้วยกัน ช่วยกันดูแล
เค้าจะได้สดชื่นขึ้น (รึเปล่าหว่า...)


ก็ประคองกันทุลักทุเลลงจากชั้น 4 ของอพาร์ทเม้นท์ น้องสาววิ่งไปตามแท็กซี่
เข้ามารับในซอยออกไปเดินห้างเซ็นทรัลกัน 
แฟนยังเดินไม่สะดวกนะคะ ต้องประคอง ประกบหน้าหลังกันตลอดเวลาเลยทีเดียว
แล้วก็ต้องใช้ไม้สามขาอยู่ตลอดค่ะ การเดินก็ช้ามาก มากกว่าที่เต่าเดินนะคะ
เพราะบอกแล้วว่าเด็กหัดเดินยังเดินไวกว่าค่ะ

กลับบ้านเรานะ รัก (รึเปล่า) รออยู่......

หลังจากอยู่ รพ.ที่สองเกือบเดือน ยังจำได้ดี วันส่งท้ายปีใหม่กลับมาถึงห้องตอนสี่ทุ่มกว่าๆ
หลับไปบนพื้นห้องเพราะเหนื่อยมาก ตื่นอีกทีตอนเค้าจุดพลุรับปีใหม่กัน ตกใจตื่น 
ตื่นขึ้นมาร้องไห้ดีกว่า อยู่ก็คนเดียวเหงาๆ ห่วงแฟนก็ห่วง มันช่างเป็นปีใหม่ที่หม่นหมองเอามากๆ


7 ม.ค. คุณหมอให้กลับบ้านได้ ทุลักทุเลพอสมควรกับผู้หญิงคนหนึ่งต้องพาคนป่วยอัมพาต
กลับบ้านด้วยแท็กซี่ ไหนจะข้าวของที่ต้องขนกลับ ไหนจะคนไข้ที่ยังไม่แข็งแรง 
ยังคงใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนรถเข็นนะ ไม่ใช่เดินตัวปลิว 

ก้าวแรกของชีวิตใหม่ หลังเฉียดความตาย ยากกว่าฝึกเด็กเดินเตาะแตะซะอีก

อัมพาตครึ่งซีก ความหมายก็ตรงตัวเลยนะคะ ครึ่งซีกของร่างกายจะอ่อนแรง 
เป็นอุปสรรคใหญ่หลวงของการทำกายภาพบำบัดสำหรับญาติมากค่ะ
ตอนนี้นักกายภาพบำบัดยังไม่ได้อนุญาตให้คนไข้ลุกขึ้นเองนะคะ 
เพราะเสี่ยงต่อการล้ม (ซึ่งคนไข้อัมพาตครึ่งซีกเวลาล้มจะล้มแรงมาก 
เพราะเค้าจะไม่สามารถทรงตัวได้เหมือนคนปกติ กลัวศีรษะกระแทกค่ะ)
ชีวิตถ้าลงจากเตียงไปอาบน้ำหรือทำกิจกรรมบำบัดก็คืออยู่บนรถเข็นค่ะ
แล้วที่บอกว่าเดินได้นี่ไม่ใช่เดินตัวปลิวนะคะ กว่าจะได้แต่ละก้าว คนลุ้นเหนื่อยอ่ะค่ะ

ย้ายไปหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกันค่ะ

แฟนนอนที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชายได้ 2 คืน เช้าวันถัดมาตื่น 6 โมงเช้า ไปถึงรพ. 7 โมงกว่าๆ จะไปดักรอหมอ round ward เพื่อซักถามอาการเพิ่ม ปรากฏว่า อ้าว เตียงแฟน ไหงเป็นคนไข้คนอื่น


พยาบาลบอกว่า "ย้ายขึ้นไปข้างบนค่ะ" อืม เดินมึนๆ งงๆ ขึ้นไปอีก 1 ชั้น
วิ้งงงงงงงง.... โอ้ หอผู้่ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับอายุรกรรม ต่างกันสุดขั้วโลกเลย
หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งใหม่ สะอาดมาก (ถอดรองเท้าเดินได้เลย) ตกแต่งใหม่
ถึงจะนอนรวมแต่อารมณ์เดียวกับห้องเอกชนแบบประมาณ 4 เตียงเลย ไม่แออัด ค่อยยังชั่ว เฮ้อ
ยังอุตส่าห์ถอนหายใจอีกนะ....


นั่งพักพอหายเหนื่อย หัวหน้าพยาบาลก็มาซักประวัติคนไข้เพิ่ม รอบนี้จะถามละเอียดมาก
เกี่ยวกับชีวิตประจำวันก่อนที่จะป่วย ทำงานอะไร สถานภาพครอบครัวเป็นยังไง 
หลังจากนั้นประมาณ 9 โมง จะมีกิจกรรมบำบัด คนไข้ของวอร์ดนี้ทุกเตียง เจ้าหน้าที่จะมาเข็น
ไปรวมกันที่อีกโซนหนึ่ง อยู่ในวอร์ดเดียวกันนี้ มีเจ้าหน้าที่กิจกรรมบำบัดคอยดูแลคนไข้
ให้ออกกำลังกายเบาๆ ฝึกหายใจ บางรายที่พูดไม่ได้ (สมองส่วนที่ควบคุมการรับรู้ทางภาษาถูกทำลาย)
เหมือนแฟนเรา ก็จะให้ฝึกพูด ฝึกอ่าน ช็อตนี้มองเผินๆ ไม่มีอะไร แต่....


อยากบอกว่า คราวนี้จากที่เราร้องไห้คนเดียว ช็อตนี้ร้องสองคนแล้วค่ะ เศร้ามาก

ห้องฉุกเฉินรอบที่ 2 (เฮ้อ....)

หลังจากเช็คบิลออกจากรพ. A (เอกชน) แล้วก็พาแฟนขึ้นรถของพี่ชายเค้าไป รพ. B 
(รพ.ต้นสังกัดสิทธิบัตรทอง) ตอนนั้นสงสารแฟนมากๆ เพราะตอนแรกเค้ารู้ว่าจะได้กลับบ้าน
ก็ดีใจจนออกนอกหน้าเลย แต่พอรู้ว่าต้องไปอีก รพ. เค้าก็ซึมไปเลย 


ไปถึงรพ. ก็สเต็ปเดิมค่ะ ไปซักประวัติใหม่กันอีกรอบ นับ 0.5 ใหม่ จะบอกว่านับ 0 ก็ไม่เชิง
ไปถึงรพ. 6 โมงเย็น ได้ขึ้นตึกอายุรกรรมตอนสองทุ่มกว่าแล้ว วันนั้นสงสารแฟนมาก
เพราะทางรพ. ห้ามเฝ้าทุกกรณี เยี่ยมได้ถึงสองทุ่มเท่านั้น กลับมาอพาร์ทเม้นท์ก็ร้องไห้จนหลับไป
ตื่นหกโมงเช้าไปหาแฟนต่อ อยากบอกว่าสภาพแวดล้อมที่ตึกอายุรกรรมของรพ. นี้หดหูมากมาย
มีทั้งคนไข้ที่โดนผูกแขนกับเตียงแล้วมีกระดาษแปะไว้ว่า "หากญาติมาให้ติดต่อเคาน์เตอร์พยาบาลด่วน"

พาผู้ป่วยอัมพาตเข้าห้องฉุกเฉินกันค่ะ ชั่วโมงนี้ยาวนานนัก

มาถึงโรงพยาบาลแล้ว เจ้าหน้าที่เข็นคนไข้ไปที่ห้องฉุกเฉิน
ทั้งพยาบาล ทั้งหมอช่วยกันเต็มกำลัง
คุณหมอก็หวังดีเห็นว่าสิทธิประกันสังคมของรพ. ใช้ไม่ได้แล้ว
เพราะตกงานเกิน 6 เดือนและเปลี่ยนสิทธิเป็นบัตรทองไปแล้ว
ก็แนะำนำให้ไปรักษากับรพ.รัฐที่มีสิทธิบัตรทองอยู่

นาทีตอนนั้นเครียดที่สุดในชีิวิตเราตั้งแต่เป็นคนมาแล้วค่ะ
เพราะครอบครัวแฟนเค้าอยากให้ไปรักษาที่รพ.ที่มีสิทธิบัตรทองมากกว่า
แต่เราก็เถียงขาดใจว่ายังไงก็ขอให้พ้นช่วงลูกผีลูกคนไปก่อนแล้วกัน
เพราะคนไข้มีทั้งโรคหัวใจ แล้วตอนนี้อาการก็แย่มาก ขอให้ได้รับการรักษาเบื้องต้นก่อน
ตอนนั้นคนไข้อยู่ในห้องเล็กๆ ในห้องฉุกเฉินอีกที เพื่อให้หมอดูอาการ
ทางพี่สะใภ้ของแฟนไม่อยากให้รักษาแบบเสียเงินก็เถียงกับหมออยู่พักใหญ่
จนแฟนเราได้ยิน พยายามขืนตัวจากบุรุษพยาบาลที่กำลังเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ
ลุกขึ้นมานั่งบนเตียง (ประมาณว่าอย่าเถียงกันเพราะเค้า คิดถึงตอนนี้แล้วเศร้านะ)
จนบุรุษพยาบาลต้องเดินออกมาตามเราบอกให้เค้าไปพูดกับคนไข้หน่อย
เราก็เดินเข้าไปบอกเค้าว่านอนเถอะ ให้หมอดูอาการก่อน เดี๋ยวจัดการให้เอง

ก้าวขาขึ้นรถฉุกเฉินกับผู้ป่วยอัมพาตกันค่ะ

ออกนอกเส้นทางไปเรื่อยเปื่อย
คราวนี้มาเริ่มออกเดินทางไปโรงพยาบาลกันแล้วนะคะ
หลังจากที่โทรศัพท์เรียกรถฉุกเฉินจากโรงพยาบาล A (เอกชน) มาแล้ว
เวรเปลได้ขึ้นมารับบนห้อง และพาแฟนเราลงบันได เล่นเอาเวรเปลสองคนหอบเลย
เพราะไม่มีลิฟต์

หลังจากก้าวขาขึ้นรถฉุกเฉินกับคนไข้แล้ว คราวนี้สิ่งที่ต้องทำและสำคัญมากก็คือ
ระหว่างในรถฉุกเฉินนี่แหละค่ะ

ส่งโรงพยาบาลไหนดีล่ะทีนี้??????

เมื่อมีผู้ป่วยแบบฉุกเฉินในบ้าน โดยเฉพาะอาการแสดงจากโรคหลอดเลือดสมองด้วยแล้ว
ทุกๆ ท่านคงต้องตกใจแน่นอน สิ่งที่ทำได้ก็คือ ตั้งสติให้มั่นค่ะ อย่าเพิ่งร้องไห้ฟูมฟาย
คิดทบทวนเลยว่าคนไข้มีโรคประจำตัวมั๊ย รักษาที่โรงพยาบาลไหน หากมีรถยนต์และสามารถนำผู้ป่วย
ส่งโรงพยาบาลได้เองวิธีนี้ผู้ป่วยจะถึงมือหมอเร็วที่สุด
แต่อาจต้องใช้วิธีการอุ้มผู้ป่วยเพราะผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรง
ไม่สามารถเดินได้  แต่หากไม่สามารถนำส่งโรงพยาบาลเองได้ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้...

อาการผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต คนใกล้ตัวใครมีอาการต่อไปนี้ รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน!!!!

มาต่อกันที่เรื่องสำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต 
นั่นคือการนำผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
อาการที่ว่านี้คือ
- อาการอ่อนแรงแบบทันทีทันใด เช่น ไม่สามารถยืน ไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้ถนัดเหมือนเดิม

  ไม่สามารถขยับเขยื้อนร่างกายบางส่วนได้ 

อาการผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต

แฟนดิฉันป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีกในวัยเพียง 31 ปีเท่านั้น
เหตุการณ์วันนั้นดิฉันยังจำได้ดี แฟนตื่นขึ้นมาเวลาประมาณ 8 โมงเช้า



เขาลุกไปเปิดทีวี และขึ้นไปนั่งดูบนเตียง แฟนยังคุยเล่นกันอยู่
ประมาณ 8.10 น. ดิฉันซึ่งนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์
หันไปหาเค้าเพื่อจะคุยเกี่ยวกับภาพกราฟิก
ตอนแรกดิฉันนึกว่าเขาแกล้งดิฉันเล่น
ดิฉันหันไปพูดกับเขา แต่เขาไม่พูดด้วย ได้แต่มองดิฉัน
ดิฉันก็ถามว่าเป็นอะไร เขาก็ไม่ยอมพูด จนเขาพยายามจะอ้าปากพูด
แต่ก็ไม่สามารถพูดอะไรออกมาได้เลย และมีน้ำลายไหลออกจากมุมปาก
โดยที่เขาไม่สามารถควบคุมได้เหมือนคนปกติ