วิธีการปฏิบัติตัวของคนไข้อัมพาตและญาติเมื่อกลับมาอยู่ที่บ้าน

คนไข้ได้กลับบ้านกันแล้ว กำลังใจก็คงดีขึ้นใช่มั๊ยคะ 
แต่ว่าอย่าดีใจหรือเสียใจจนทำได้แต่นั่งๆ นอนๆ นะคะ 
คำๆ นี้ยังใช้ได้ดีเสมอ "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่นค่ะ"


สิ่งจำเป็นที่ต้องทำโดยเฉพาะในคนไข้ที่ยังฟื้นตัวไม่มาก  คือ การหายใจที่ถูกวิธีค่ะ
ผู้ป่วยควรฝึกการหายใจช้าๆ ลึกๆ สม่ำเสมอ เพื่อให้ปอดแข็งแรง เพราะว่าจากการที่ผู้ป่วย
นอนป่วยเป็นเวลานาน ปอดอาจเกิดการติดเชื้อได้ ให้หมั่นหายใจเข้าออกลึกๆ ทำบ่อยๆ นะคะ



ในรายที่ผู้ป่วยไม่สามารถขยับตัวหรือพลิกตัวได้เลย ญาติต้องหมั่นพลิกตัวคนไข้ทุกชั่วโมงนะคะ
เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับค่ะ 


ระมัดระวังทุกครั้งที่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ เพราะว่าผู้ป่วยอัมพาตจะมีปัญหาเรื่องการกลืนด้วยค่ะ
หากเกิดการสำลักอาจทำให้น้ำหรือเศษอาหารลงสู่ปอดทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน


หมั่นทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วย หากผู้ป่วยรู้สึกสบายตัว จิตใจก็จะแจ่มใสพร้อมรับ
การกายภาพบำบัดและการออกกำลังกายเบาๆ ได้ (ไม่เว้นแม้แต่ผู้ป่วยที่เดินไม่ได้นะคะ)
อย่างน้อยขยับแขนหรือขาเบาๆ ก็ยังดีค่ะ ทำเท่าที่ทำได้ ไม่ต้องฝืนมากค่ะ เดี๋ยวท้อซะก่อน


ระมัดระวังการพลัดตกหกล้มอย่างสูงค่ะ เพราะ่คนไข้บางท่านอาจกายภาพบำบัดจนเดินได้แล้ว
เมื่อกลับมาอยู่บ้านให้ระวังการหกล้มนะคะ เพราะร่างกายอาจจะกลับคืนยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์
บางทีเดินได้สักพักแต่จู่ๆ ก็หมดแรงดื้อๆ ก็มีบ่อยนะคะ ต้องระวังอย่างมากค่ะ


การรับประทานยา ให้รับประทานยาอย่างเคร่งครัด และควรทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน
เพื่อให้ยาออกฤทธิ์อย่างสม่ำเสมอ เช่น ยาหลังอาหารเย็นเคยทาน 6 โมงเย็น ก็ควรทานเวลา
6 โมงเย็นทุกวันค่ะ 


คนไข้อัมพาต ปัญหาหลักอยู่ที่สมอง เพราะฉะนั้นให้บริหารสมองให้มากค่ะ
ทุกวันให้ญาติคนไข้เขียนโจทย์เลขง่ายๆ ให้คนไข้บวกนะคะ สัก 20 โจทย์ค่ะ
เช่น 9+5 ประมาณนี้นะคะ อันนี้เราหาอ่านเองจากเว็บเมืองนอกค่ะ แล้วเห็นว่าไม่ได้เสียหายอะไร
เพราะที่ญี่ปุ่นเองก็มีการวิจัยว่าการฝึกบวกเลขง่ายๆ ทุกวัน จะทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น
ถึงแม้ว่าคนไข้จะไม่สามารถขยับเขยื้อนร่างกายบางส่วนได้ เช่น ไม่สามารถยกแขนได้
แต่ญาติควรกระตุ้นให้คนไข้พยายามให้สมองสั่งการมาที่แขนนะคะ 


ญาติและคนไข้ควรพยายามทำตัว ทำกิจวัตรประจำวันให้เหมือนปกติมากที่สุด
แบบแฟนเราตอนแรกพูดไม่ได้เลยแม้แต่จะส่งเสียงออกมา ตอนหลังพูดไ้ด้บ้าง ไม่เกิน 0.1 เปอร์เซ็นต์
เวลาเราคุยกับเค้า เราจะพยายามหันไปทำเหมือนสนใจทีวีแล้วคุยกับเค้า เพื่อให้เค้าพยายามที่จะพูด
ออกมา แทนที่จะส่งสาส์นด้วยสีหน้าท่าทาง
ตอนแรกเวลาเค้าจะบอกอะไรเกี่ยวกับตัวเลข เค้าจะทำมือให้ดูตลอด 
ตอนหลังเวลารู้ว่าเค้าจะพูดเรื่องตัวเลข เราจะไม่หันไปมองเลย แต่จะถามแทนว่าเท่าไหร่
คือ ต้องพยายามให้เค้าปรับตัวมาหาเราค่ะ อาการเค้าจะได้ดีขึ้น (อันนี้เราคิดเอง)


ญาติคนไข้เอง อย่ามัวแต่รอ หรือร้องขอจากใคร หน่วยงานใดนะคะ อยากให้คนไข้ดีวันดีคืน
ไม่ต้องรอนักกายภาพบำบัดเลยค่ะ กลับมาอยู่บ้านแล้ว ศึกษาจากหนังสือหรือในเว็บมีเยอะมากๆ ค่ะ
เลือกท่ากายภาพบำบัดที่เหมาะกับผู้ป่วยของเรา แล้วช่วยทำกายภาพบำบัดให้คนไข้ อบอุ่นดีออกค่ะ


บล็อกหน้าจะนำท่ากายภาพบำบัดที่สแกนจากหนังสือมาลงให้นะคะ เผื่อจะเป็นแนวทางให้
ญาติคนไข้หลายๆ ท่านได้บ้างค่ะ

2 ความคิดเห็น:

  1. 0908893838
    แม่เป็นสมองตีบ แนะนำคุนหมอ Pด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  2. 0908893838
    แม่เป็นสมองตีบ แนะนำคุนหมอ Pด้วยค่ะ

    ตอบลบ