วิธีการปฏิบัติตัวของคนไข้อัมพาตและญาติเมื่อกลับมาอยู่ที่บ้าน

คนไข้ได้กลับบ้านกันแล้ว กำลังใจก็คงดีขึ้นใช่มั๊ยคะ 
แต่ว่าอย่าดีใจหรือเสียใจจนทำได้แต่นั่งๆ นอนๆ นะคะ 
คำๆ นี้ยังใช้ได้ดีเสมอ "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่นค่ะ"


สิ่งจำเป็นที่ต้องทำโดยเฉพาะในคนไข้ที่ยังฟื้นตัวไม่มาก  คือ การหายใจที่ถูกวิธีค่ะ
ผู้ป่วยควรฝึกการหายใจช้าๆ ลึกๆ สม่ำเสมอ เพื่อให้ปอดแข็งแรง เพราะว่าจากการที่ผู้ป่วย
นอนป่วยเป็นเวลานาน ปอดอาจเกิดการติดเชื้อได้ ให้หมั่นหายใจเข้าออกลึกๆ ทำบ่อยๆ นะคะ

กินยาแล้วหาย นวดแล้วหาย หมอเทวดารักษาหาย แล้วรักษาแบบไหนดีเนี่ย????

มากันอีกแล้ว เรื่องปวดหัวไม่เว้นแต่ละวัน หลังจากที่แฟนทานยากันชัก
ตอนนั้นผ่านไป 7 เดือนแล้วตั้งแต่เริ่มป่วยอัมพาต แฟนเดินได้ แต่ยังช้าอยู่มาก
พาข้ามถนนก็ต้องโบกมือขอให้รถจอดเลยทีเดียว เราก็เครีียด ทางบ้านเราก็เครียด
เพราะว่าัเรายังไม่ได้แต่งงานกันเลย


พ่อเราแนะนำว่าให้พามาัรักษากับคุณหมอ P (เป็นแพทย์จบด้านประสาทศัลยศาสตร์นะคะ
ไม่ใช่หมอตามคำบอกเล่า) เพราะเราเองก็รู้ว่าท่านเคยรักษายายที่ป่วยเป็นอัมพาต
ร่างกายสองด้านใช้การไม่ได้เลย เคลื่อนไหวได้แต่ส่วนศีรษะเนื่องจากเส้นเลือดตีบ
จนยายเราหายดี เดินได้เหมือนปกติทุกอย่าง ทุกวันนี้อายุ 77 แล้วยังเดินขึ้นลงบ้านเอง
ทำักับข้าวใส่บาตรเอง 

เมื่อสิ่งสำคัญในการรักษาอัมพาต คือ "สติ" เรารักษาแฟนโดยไม่ใช่อาหารเสริมเทวดาใดๆ ทั้งสิ้นค่ะ

หลายๆ บ้านคงเคยมีผู้ป่วยในบ้านใ่่ช่มั๊ยคะ ยิ่งเป็นโรคร้ายแรง
คุณจะได้พบเจอคนกลุ่มหนึ่งที่แสนดีกับเราและคนในครอบครัวเรามากมาย
คอยมาสอบถามปัญหา พร้อมกับเสนอ (ยัดเยียด) ผลิตภัณฑ์
ที่เค้ามีส่วนได้ส่วนเสียให้กับเราเสมอ

สำหรับเรากับแฟน เจอตั้งแต่บนห้องกายภาพบำบัดเลยค่ะ ตำแหน่งของเค้าคือ "แม่บ้าน"
ประจำวอร์ด ช่วงที่แฟนเราเริ่มเดินด้วยไม้เท้าแล้ว จนท.กายภาพเค้าจะให้พนักงานที่อยู่
ในวอร์ดคอยช่วยดูแลคนไข้เวลาเดินโดยมีญาติคอยดูแลด้วย