วิธีการปฏิบัติตัวของคนไข้อัมพาตและญาติเมื่อกลับมาอยู่ที่บ้าน

คนไข้ได้กลับบ้านกันแล้ว กำลังใจก็คงดีขึ้นใช่มั๊ยคะ 
แต่ว่าอย่าดีใจหรือเสียใจจนทำได้แต่นั่งๆ นอนๆ นะคะ 
คำๆ นี้ยังใช้ได้ดีเสมอ "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่นค่ะ"


สิ่งจำเป็นที่ต้องทำโดยเฉพาะในคนไข้ที่ยังฟื้นตัวไม่มาก  คือ การหายใจที่ถูกวิธีค่ะ
ผู้ป่วยควรฝึกการหายใจช้าๆ ลึกๆ สม่ำเสมอ เพื่อให้ปอดแข็งแรง เพราะว่าจากการที่ผู้ป่วย
นอนป่วยเป็นเวลานาน ปอดอาจเกิดการติดเชื้อได้ ให้หมั่นหายใจเข้าออกลึกๆ ทำบ่อยๆ นะคะ

กินยาแล้วหาย นวดแล้วหาย หมอเทวดารักษาหาย แล้วรักษาแบบไหนดีเนี่ย????

มากันอีกแล้ว เรื่องปวดหัวไม่เว้นแต่ละวัน หลังจากที่แฟนทานยากันชัก
ตอนนั้นผ่านไป 7 เดือนแล้วตั้งแต่เริ่มป่วยอัมพาต แฟนเดินได้ แต่ยังช้าอยู่มาก
พาข้ามถนนก็ต้องโบกมือขอให้รถจอดเลยทีเดียว เราก็เครีียด ทางบ้านเราก็เครียด
เพราะว่าัเรายังไม่ได้แต่งงานกันเลย


พ่อเราแนะนำว่าให้พามาัรักษากับคุณหมอ P (เป็นแพทย์จบด้านประสาทศัลยศาสตร์นะคะ
ไม่ใช่หมอตามคำบอกเล่า) เพราะเราเองก็รู้ว่าท่านเคยรักษายายที่ป่วยเป็นอัมพาต
ร่างกายสองด้านใช้การไม่ได้เลย เคลื่อนไหวได้แต่ส่วนศีรษะเนื่องจากเส้นเลือดตีบ
จนยายเราหายดี เดินได้เหมือนปกติทุกอย่าง ทุกวันนี้อายุ 77 แล้วยังเดินขึ้นลงบ้านเอง
ทำักับข้าวใส่บาตรเอง 

เมื่อสิ่งสำคัญในการรักษาอัมพาต คือ "สติ" เรารักษาแฟนโดยไม่ใช่อาหารเสริมเทวดาใดๆ ทั้งสิ้นค่ะ

หลายๆ บ้านคงเคยมีผู้ป่วยในบ้านใ่่ช่มั๊ยคะ ยิ่งเป็นโรคร้ายแรง
คุณจะได้พบเจอคนกลุ่มหนึ่งที่แสนดีกับเราและคนในครอบครัวเรามากมาย
คอยมาสอบถามปัญหา พร้อมกับเสนอ (ยัดเยียด) ผลิตภัณฑ์
ที่เค้ามีส่วนได้ส่วนเสียให้กับเราเสมอ

สำหรับเรากับแฟน เจอตั้งแต่บนห้องกายภาพบำบัดเลยค่ะ ตำแหน่งของเค้าคือ "แม่บ้าน"
ประจำวอร์ด ช่วงที่แฟนเราเริ่มเดินด้วยไม้เท้าแล้ว จนท.กายภาพเค้าจะให้พนักงานที่อยู่
ในวอร์ดคอยช่วยดูแลคนไข้เวลาเดินโดยมีญาติคอยดูแลด้วย 

เมื่อผู้ป่วยอัมพาตมีอาการชักจนตัวเขียว ญาติแบบเราเกือบช็อค!!!!!

ออกจากรพ.ต้นเดือน ม.ค. แฟนเริ่มเดินเตาะแตะอยู่บนห้อง ยังเดินไม่ค่อยคล่องเท่าไหร่
ค่อยเป็นค่อยไป ส่วนมือยังคงใช้การไม่ได้ สั่งกำได้ แต่แบไ่ม่ได้ การกำก็ใช้แรงเกร็งเอา


คุณหมอบอกว่าคนไข้อัมพาตครึ่งซีก ถ้าแรงขากลับคืนก่อน แรงที่แขนก็จะคืนช้ากว่า
ในทางกลับกัน คนไข้บางคนก็ขยับมือได้ก่อนที่จะเดินได้


เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มจะไปได้สวยแล้วใช่มั๊ยคะ
เปล่าเลย

พาผู้ป่วยอัมพาตออกสู่โลกภายนอก (บ้าน) ครั้งแรกกันค่ะ

หลังจากที่อยู่กันแต่บนห้องเป็นระยะเวลากว่า 2 อาทิตย์
ก็ถึงฤกษ์งามยามดี น้องสาวกับเพื่อนมาหาที่กรุงเทพ 
ก็คุยกันไว้ว่าจะพาแฟนออกไปเดินเล่นที่ห้างด้วยกัน ช่วยกันดูแล
เค้าจะได้สดชื่นขึ้น (รึเปล่าหว่า...)


ก็ประคองกันทุลักทุเลลงจากชั้น 4 ของอพาร์ทเม้นท์ น้องสาววิ่งไปตามแท็กซี่
เข้ามารับในซอยออกไปเดินห้างเซ็นทรัลกัน 
แฟนยังเดินไม่สะดวกนะคะ ต้องประคอง ประกบหน้าหลังกันตลอดเวลาเลยทีเดียว
แล้วก็ต้องใช้ไม้สามขาอยู่ตลอดค่ะ การเดินก็ช้ามาก มากกว่าที่เต่าเดินนะคะ
เพราะบอกแล้วว่าเด็กหัดเดินยังเดินไวกว่าค่ะ

กลับบ้านเรานะ รัก (รึเปล่า) รออยู่......

หลังจากอยู่ รพ.ที่สองเกือบเดือน ยังจำได้ดี วันส่งท้ายปีใหม่กลับมาถึงห้องตอนสี่ทุ่มกว่าๆ
หลับไปบนพื้นห้องเพราะเหนื่อยมาก ตื่นอีกทีตอนเค้าจุดพลุรับปีใหม่กัน ตกใจตื่น 
ตื่นขึ้นมาร้องไห้ดีกว่า อยู่ก็คนเดียวเหงาๆ ห่วงแฟนก็ห่วง มันช่างเป็นปีใหม่ที่หม่นหมองเอามากๆ


7 ม.ค. คุณหมอให้กลับบ้านได้ ทุลักทุเลพอสมควรกับผู้หญิงคนหนึ่งต้องพาคนป่วยอัมพาต
กลับบ้านด้วยแท็กซี่ ไหนจะข้าวของที่ต้องขนกลับ ไหนจะคนไข้ที่ยังไม่แข็งแรง 
ยังคงใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนรถเข็นนะ ไม่ใช่เดินตัวปลิว 

ก้าวแรกของชีวิตใหม่ หลังเฉียดความตาย ยากกว่าฝึกเด็กเดินเตาะแตะซะอีก

อัมพาตครึ่งซีก ความหมายก็ตรงตัวเลยนะคะ ครึ่งซีกของร่างกายจะอ่อนแรง 
เป็นอุปสรรคใหญ่หลวงของการทำกายภาพบำบัดสำหรับญาติมากค่ะ
ตอนนี้นักกายภาพบำบัดยังไม่ได้อนุญาตให้คนไข้ลุกขึ้นเองนะคะ 
เพราะเสี่ยงต่อการล้ม (ซึ่งคนไข้อัมพาตครึ่งซีกเวลาล้มจะล้มแรงมาก 
เพราะเค้าจะไม่สามารถทรงตัวได้เหมือนคนปกติ กลัวศีรษะกระแทกค่ะ)
ชีวิตถ้าลงจากเตียงไปอาบน้ำหรือทำกิจกรรมบำบัดก็คืออยู่บนรถเข็นค่ะ
แล้วที่บอกว่าเดินได้นี่ไม่ใช่เดินตัวปลิวนะคะ กว่าจะได้แต่ละก้าว คนลุ้นเหนื่อยอ่ะค่ะ